แบบก่อสร้างมีประมาณ 8ชนิดครับ

แบบก่อสร้างมีประมาณ 8ชนิดครับ 
สำหรับโครงการขนาดใหญ่ 
1. Preliminary Drawing (แบบร่างส่งเจ้าของ) 
2. EIA permission Drawing (แบบส่งการศึกษาสิ่งแวดล้อม) 
3. Bank Loan Drawing (แบบเพื่อส่งกู้เงินธนาคาร) 
4. Construction permission Drawing (แบบขออนุญาตก่อสร้าง) 
5. Bidding Drawing (แบบเพื่อประมูลราคา) 
6. Construction Drawing (แบบเพื่อการก่อสร้าง) 
7. Shop Drawing (แบบเพื่อรายละเอียดก่อสร้างแต่ละจุด) 
8. Asbuilt Drawing (แบบบันทึกการก่อสร้างที่สร้างจริง) 
รายละเอียดของแบบแต่ละชนิดที่เราจัดทำครับ 
1. Preliminary Drawing (แบบร่างส่งเจ้าของ) 
หมายถึงแบบเบื้องต้นหรือแบบโครงร่าง เพื่อแสดงจุดประสงค์กว้างๆ ของผู้ออกแบบ เพื่อให้เจ้าของงานพิจารณา ในขั้นตอนนี้จะอาจมีการปรับเปลี่ยนแบบหลายครั้ง และบ่อยครั้ง แต่เมื่อแบบผ่านอาจเจอเหตุการณ์เจ้าของงานหาย ห่ะหายไปไหนแล้วเห็นแว๊บๆเมื่อกี้ 
2. Construction Drawing (แบบเพื่อการก่อสร้าง) 
หมายถึง หลังจากที่แบบทุกอย่างลงตัวเป็นที่พอใจของเจ้าของบ้าน ก็ถึงเวลาลงมือทำ “แบบก่อสร้าง” ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันอีกขั้นตอนระหว่างสถาปนิก และวิศวกรในสาขาต่างๆ เจ้าของบ้านอาจสงสัยว่าทำงานกันมาตั้งเป็นเดือน ไม่ค่อยได้เจอวิศวกร นั่นเพราะว่าสถาปนิก เป็นผู้จัดการประสานงานให้ทั้งหมด 
1.รายการประกอบแบบก่อสร้าง และแบบขออนุญาต รายการประกอบแบบก่อสร้างจะมีลักษณะเป็นตัวอักษรทั้งหมด แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐาน วิธีการก่อสร้างที่ต้องการให้เป็นไปในอาคารนั้นๆ เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมทั้งการยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับทางหน่วยงานราชการ
แบบขออนุญาตคือการนำแบบก่อสร้างจำนวน 5 ชุด พร้อมเอกสารรับรองดังนี้เพื่อยื่นขออนุญาตกับทางหน่วยงานราชการ - เอกสารรับรองการออกแบบของสถาปนิกและวิศวกร - สำเนาใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพควบคุมของสถาปนิกและวิศวกร - รายการคำนวณโครงสร้างโดยวิศวกรผู้ออกแบบ - เอกสารคำร้องขอปลูกสร้างอาคาร
2. แบบสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย 
2.1 รายการวัสดุก่อสร้าง เป็นรายการที่ระบุเป็นตัวอักษรว่าส่วนประกอบต่างๆของบ้านหลังนี้ ใช้วัสดุอะไร ขนาดเท่าไหร่ มีคุณลักษณะพิเศษเช่นไร และมีข้อควรระวังในการใช้วัสดุนั้นๆ อย่างไร บางครั้งถ้าเป็นวัสดุที่ไม่ได้มีขายทั่วไปในท้องตลาด สถาปนิกจะทำการระบุชื่อบริษัทตัวแทนจำหน่าย ชื่อผู้ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์ให้ด้วย 
2.2 ผังบริเวณ เป็นแบบแสดงตำแน่งตัวอาคาร และองค์ประกอบของอาคารบนโฉนดที่ดิน พร้อมระยะและระดับความสูง โดยละเอียดและชัดเจน 
2.3 ผังอาคาร แบ่งตามรายละเอียดของประเภทงานได้ดังนี้ - ผังพื้น แสดงผังงานรูปแบบอาคาร และประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ในแต่ละชั้น - ผังวัสดุปูพื้น แสดงผังงานรูปแบบและขอบเขตของวัสดุปูพื้นแต่ละชนิด โดยมีรหัสของวัสดุแสดงไว้พร้อมระดับความสูงของพื้นผิววัสดุปูพื้นนั้นๆ - ผังฝ้าเพดาน แสดงผังงานรูปแบบและขอบเขตของวัสดุปูฝ้าเพดานแต่ละชนิด โดยมีรหัสของวัสดุแสดงไว้พร้อมระดับความสูงของพื้นผิววัสดุฝ้าเพดานนั้นๆ - ผังหลังคา แสดงรูปแบบและขอบเขตของวัสดุมุงหลังคา รวมทั้งทิศทางการลาดเอียงของหลังคาและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ เช่น รูปแบบของรางน้ำ ซึ่งอาจนำไปแสดงเป็นแบบขยายเพิ่มเติมโดยละเอียดในตอนท้ายของแบบก่อสร้างได้ - ผังระบบไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบปรับอากาศ แสดงตำแหน่งของอุปกรณ์แผงควบคุมระบบไฟฟ้าหลักและย่อย ดวงโคมแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น สวิทช์ ปลั๊กไฟฟ้า ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศพร้อมขนาด บางครั้งอาจรวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยด้วย (ถ้ามี) 
2.4 รูปด้าน เป็นภาพภายนอกอาคารแสดงรูปแบบของอาคารในแต่ละด้าน มีระยะและระดับความสูงของอาคารกำหนดไว้โดยละเอียด พร้อมทั้งระบุตำแหน่งผนัง ประตู หน้าต่าง และช่องเปิดต่างๆ พร้อมรหัสของงานแต่ละประเภท ซึ่งสามารถดูประกอบกับรายการวัสดุก่อสร้าง และแบบขยายรายละเอียดต่างๆ ได้ 2.5 รูปตัด เป็นภาพที่มีลักษณะเดียวกับรูปด้านอาคาร ต่างกันตรงที่แสดงแนวตัดอาคารเพื่อให้เห็นอาคารภายใน เพื่อแสดงระดับอาคารภายในแต่ละชั้น หรือมีการเล่นระดับในชั้นเดียวกัน รวมถึงความสัมพันธ์ของอาคารในแนวดิ่งว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เช่น ความสูงและลาดชันของบันได เป็นต้น 
2.6 แบบขยายรายละเอียด ประกอบด้วย - แบบขยายบันได แสดงขนาดลูกตั้ง ลูกนอน จำนวนขั้น ความลาดเอียงแม่บันได ราวบันไดและลูกกรงโดยละเอียด - แบบขยายห้องน้ำและตารางสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ แสดงตำแหน่งสุขภันฑ์ อุปกรณ์ วัสดุปูพื้นและความลาดเอียง วัสดุกรุผนัง ช่องเปิดสำหรับบำรุงรักษาโดยละเอียด รวมทั้งแสดงตารางสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เลือกใช้ในบ้านว่าเป็นยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร สีอะไร เพื่อความสะดวกในการจัดซื้อและตรวจงานจ้าง - แบบขยายประตูและหน้าต่าง แสดงรูปด้านบน รูปด้านหน้า และรูปด้านข้าง รวมทั้งรายละเอียดของบาน วงกบ มือจับ อุปกรณ์ประกอบโดยละเอียด - แบบขยายหลังคา แสดงรายละเอียดรางน้ำ ครอบสันหลังคา ครอบข้างหลังคา ปีกนกกันน้ำ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้างหลังคาโดยละเอียด - แบบขยายรั้ว ถนน ประตูรั้ว แสดงรูปแบบและรายละเอียดวัสดุ ระยะ ระดับ โดยละเอียด รวมทั้งอุปกรณ์พิเศษ เช่น ประตูรั้วไฟฟ้า เป็นต้น
3. แบบวิศวกรรมสาขาต่างๆ ประกอบด้วย 
3.1 แบบวิศวกรรมโยธา แสดงรายละเอียดเสาเข็ม ฐานราก เสา คาน รวมทั้งรายละเอียดวัสดุทุกอย่างที่มีผลต่อความแข็งแรงของตัวอาคาร 
3.2 แบบวิศวกรรมระบบไฟฟ้า สื่อสาร และปรับอากาศ แสดงตำแหน่งของอุปกรณ์แผงควบคุมระบบไฟฟ้าหลักและย่อย ดวงโคมแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น สวิทช์ ปลั๊กไฟฟ้า ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศพร้อมขนาด บางครั้งอาจรวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยด้วย (ถ้ามี) 
3.3 แบบวิศวกรรมระบบสุขาภิบาล แสดงตำแหน่งและทิศทางของระบบสุขาภิบาลที่เชื่อมระหว่างภายในและภายนอกอาคาร รวมทั้งรายละเอียดภายในอาคาร เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว เป็นต้น
เท่าที่กล่าวมาเป็นรายละเอียดเบื้องต้นที่ครอบคลุมภาพรวมของงานเขียนแบบก่อสร้าง ซึ่งอาจมีรายละเอียดมากน้อยแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดและ รายเอียดของบ้านที่ทำการออกแบบ ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงควรศึกษารายละเอียดเหล่านี้ไว้บ้างเพื่อเป็นประโยชน์ในการว่าจ้างสถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา 
3. Shop Drawing (แบบเพื่อรายละเอียดก่อสร้างแต่ละจุด) หมายถึง การถอดแบบ เพื่อทำงาน ว่าเราต้องใช้ส่วนประกอบใดในการทำงานบ้าง เป็นสายงานหนึ่งของช่างเขียนแบบ ในที่นี้ผมจะแนะนำการ ถอดแบบ ที่เรียกว่า Fabrication Shop drawing คือการถอดแบบ เพื่อผลิตชิ้นงาน งานนี้เป็นงานละเอียดนะครับ หากเราบอกขนาดผิดช่างประกอบก็ตัดชิ้นส่วนผิดเราทำงานดีหรือไม่ดี มันก็จะไปบอกตอนที่ ประกอบชิ้นงานหรือเปิดหน้างานไปแล้วล่ะครับว่าเราพลาดตรงไหนบ้าง 
4. Asbuilt Drawing (แบบบันทึกการก่อสร้างที่สร้างจริง) หมายถึง แบบที่เขียนขึ้นหลังจากการก่อสร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว โดยแบบ AS-Built Drawing จะแสดงรายละเอียด ของสิ่งที่ได้ก่อสร้างไปจริงๆ หลังจากที่เอา Shop Drawing ไปก่อสร้างแล้วอาจมีการแก้ไข ไม่ตรงตามแบบ Shop อันนี้จะเป็นแบบสุดท้ายเช่นแนวทางเดินสายไฟ แนวทางเดินท่อน้ำ ลักษณะประตู หน้าต่าง ฯลฯ แบบ AS-Built Drawing นี้อาจจะแตกต่างจากแบบก่อสร้าง (Construction Drawing) และ Shop Drawing ก็ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเหมาะสม ในงานก่อสร้างหน้างาน เป็นเรื่องธรรมดา (เช่นเจ้าของโครงการสั่งเปลี่ยนตำแหน่งดวงโคม เป็นต้น)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีทำให้ไฟล์ Auto Cad ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง

วิธีย้าย แยกเก็บ File .Bak ไม่ให้มั่วกับ File .dwg (Auto cad)

วิธีเปลี่ยนให้เป็น Autocad Classic